เรื่องต่อๆ


เรื่องต่อๆ

เเละวันนี้ก่อนที่เราจะ พูดถึงการหลงป่าของพี่ทอม ผมจะยกอันตรายส่วนเล็กที่เรียกว่าไม่เล็กกันเลยที่เดียวนะครับ หลายคนเคยได้ยินมาบ้างเกี่ยวกับต่อหลุ่มเเละต่อหัวเสือ โหฟังชื่อก็ขนหัวลุกเลยนะครับ ผมได้ศึกษาข้อมูลจากหลายๆที่มาไว้ตรงนี้เพื่อที่จะให้พี่น้องที่เข้ามารับชมนี้จะได้ไม่เสียเวลาไปค้นข้อมูลมากมาย บางช่วงข้อมูลอาจหายไปบ้างเพราะไม่เจอผู้ใหญ่ที่ท่านมีความรู้เก่าเเก่เลย มีแต่ความรู้วิทยาศาสตร์ล้วนๆแต่ก็ไม่ถึงกับนั่งเทียนหรอกนะครับ 555+ ว่าเเล้วก็เริ่มกันเลยนะครับ เริ่มที่ ต่อหัวเสือเเละรายละเอียดกัน

               
       หน้าตาดุสมชื่อนะครับเจ้านี้  ชื่อ วิทยาศาสตร์คือ Vespa sp.

ข้อมูลทั่วไป

             เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Hymenoptera  ต่อเป็นแมลงที่มีพิษจัดเป็นสัตว์ประเภท Omnivorous คือ เป็นแมลงที่กินสัตว์ เช่น ตัวอ่อนแมลงอื่น ซากสัตว์ เป็นอาหาร และยังจัดเป็นแมลงตัวห้ำ (Predator) อีกทั้งเป็นแมลงที่ดูดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ต่อหัวเสือมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่อยู่ลำพัง หรืออยู่เป็นรวมกันเป็นแมลงสังคม (Social wasp) ส่วนต่อที่สร้างรังขนาดใหญ่มีหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นรูปทรงกลมใหญ่ มักอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต่อหัวเสือ ต่อรัง ต่อขวด และต่อหลวง ต่อเป็นแมลงพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ในประเทศไทย พบ 18 ชนิด
ต่อ ชนิดที่อยู่รวมกันเป็นแมลงสังคม มีการแบ่งวรรณะ ประกอบด้วยเพศผู้ ซึ่งต่อราชินีและต่องาน เป็นเพศเมีย  นักวิทยาศาสตร์พบว่า  ไข่ที่ได้รับการผสมจะเจริญเติบโตเป็นเพศเมีย ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมเจริญเติบโตเป็นเพศผู้
ต่องาน มีหน้าที่หาอาหาร ป้องกันรัง ดูแลราชินี และตัวอ่อนภายในรัง
ต่อราชินีเป็นเพศเมียที่สามารถสืบพันธุ์ได้ ในรังต่อจะมีต่อราชินีที่เป็นแม่ ตัว  จะพบต่อราชินีที่เป็นลูกอีกหลายตัว ส่วนใหญ่แล้วจะพบในช่วงฤดูกาลการผสมพันธุ์เพื่อสร้างรังใหม่
การป้องกันรังของ ต่อหัวเสือ พวกมันจะต่อยพร้อมกับการฉีดพิษ ต่อตัวที่ต่อยได้ ทุกตัวเป็นต่อเพศเมียเท่านั้นเพราะมีเหล็กใน ที่ถูกพัฒนามาจากอวัยวะในการวางไข่ การต่อยนอกจากเป็นการป้องกันตัว ป้องกันรังแล้วต่อบางชนิดยังสามารถใช้ในการล่าเหยื่อโดยการต่อยให้เหยื่อสลบก่อนจะคาบเหยื่อไปกินเป็นอาหารที่รังต่อไป

วงจรชีวิต

 การเจริญเติบโตของ ต่อ ตั้งแต่ตัวอ่อนซึ่งเป็นมีสภาพเป็นตัวหนอน (larva) ฟักออกมาจากไข่ ต้องผ่านระยะตัวหนอน หลายระยะ โดยตัวหนอนมีปากเป็นแบบกัด หนอนในระยะ สุดท้ายจะเริ่ม หยุดกินอาหารและเคลื่อนไหวน้อยลงเรียกหนอนในระยะนี้ว่า ระยะเตรียมเข้าดักแด้ (prepupa or pharate pupa)   จากนั้นจะเข้าดักแด้ (pupation) จนเป็นตัวเต็มวัยมีปีกบินได้นั้น จัดอยู่ในประเภทการลอกคราบ หรือการถอดรูปสมบูรณ์แบบ (holometabolous or complete metamorphosis)  การถอดรูปในลักษณะนี้มักพบได้ในกลุ่มแมลงที่มีวิวัฒนาการสูงวงจรชีวิตมีการพัฒนาการในระยะต่างๆ ที่สำคัญรวม 4 ระยะ คือ ระยะไข่  ระยะตัวอ่อน หรือ หนอน    ระยะดักแด้    ระยะตัวเต็มวัย

ลักษณะตัวเต็มวัยนี้สำคัญมากครับเป็นที่สังเกตุ

            ต่อหัวเสือ ลำตัวมีสีดำแต้มด้วยสีเหลือง หรืออาจมีสีน้ำตาล ท้องมีแถบสีส้มปนเหลืองเห็นได้ชัดเจน มีขนาดลำตัว 2.7 -3.50  เซนติเมตร มีปีกสีน้ำตาลบางใส 2 คู่ ปีกคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าปีกคู่หน้ามาก มีเขี้ยวที่กางออกทางข้าง 2 ข้าง ต่อหัวเสือ เป็นแมลงนักล่าที่น่าเกรงขาม สีเหลืองของมันบ่งบอกถึงภัยอันตราย สีดำแทนความแข็งแกร่งอดทนต่อหัวเสือ
รังต่อหัวเสือ จะร้างราวช่วงเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม เนื่องจากเมื่อนางพญาหมดอายุขัย และนางพญาใหม่ที่เกิดขึ้น จะออกหาคู่ และไปสร้างอาณาจักรของพวกมันเอง ทิ้งพี่ๆน้องๆของมันให้ผจญชะตากรรม จากสภาพที่ไร้ผู้ปกครอง ที่รอแต่จะแตกสลายไปในเวลาไม่นาน 
ญาติของมัน ต่อหัวเสือหลุม (V.tropica) มีพฤติกรรมนักล่าที่ดุดันกว่าต่อหัวเสือมาก  มักเข้าจู่โจมรังต่อหัวเสือบ้าน และ รังของแตน เพื่อล่าเอาตัวอ่อนไปเป็นอาหาร จนทำให้ต่อหัวเสือบ้าน และแตน แตกรัง ต้องทิ้งรังไปสร้างที่อยู่ใหม่ เรา จึงมักพบต่อหลุมบินอยู่บริเวณบ้านด้วยเช่นกัน

สามารถแบ่งการเป็นพิษจากตัวต่อได้เป็น 3 ลักษณะ ตามกลไกการเกิดพิษ คือ

1.   การเป็นพิษโดยตรง (direct toxicity) ของพิษต่อเนื้อเยื่อต่างๆทั้งที่เป็นเฉพาะที่ (local) และทั่วร่างกาย (systemic)
2.   ปฏิกิริยาภูมิต้านทาน (immunological reaction) เกิดจากการกระตุ้น mast cell , การสร้าง IgG , IgE ทำให้เกิด serum sickness และ anaphylaxis
3.   กลไกที่ยังไม่ทราบ เช่น การทำอันตรายต่อระบบ ประสาท หลอดเลือดและไต 

การรักษาอาการพิษจากแมลงใน Order Hymenoptera (ผึ้ง  ต่อ  แตน)

เมื่อได้รับพิษให้ประคบด้วยน้ำแข็ง หรือให้ยาระงับอาการปวด ให้รับประทานยาแก้แพ้(Antihistamine) และ corticosteroid เพื่อลดอาการอักเสบและอาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนด้วยก็ได้ ในบางรายที่มีอาการรุนแรงให้รีบนำส่งโรงพยาบาลความรุนแรงของพิษนั้น จะผันแปรตามจำนวนแผลที่ถูกต่อย ปริมาณพิษที่ได้รับต่อน้ำหนักตัว อายุ และประวัติการแพ้
การรักษาเมื่อได้รับพิษจากแมลงกัดต่อย หากพิษไม่มีความรุนแรง เช่น มีอาการผื่นคัน มีตุ่มน้ำ เป็นจุดแดงๆ เล็กๆ หรือมีอาการคัน ก็อาจใช้สมุนไพรบรรเทาอาการได้ เช่น ขมิ้นชัน ตำลึง  ผักบุ้งทะเล พญายอ เสลดพังพอน
                
                              เจอรังเเบบนี้ก็เขาละครับพี่น้อง




ต่อหลุ่มคงไม่ทันเเล้วไว้เจอกัน โพสหน้านะครับ สวัสดีครับ ขอบคุณที่ติดตาม DANTE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น